Lev Vygotsky




ทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคมของ  Lev Vygotsky 

ประวัติ Lev Vygotsky 

          Lev Vygotsky เป็นนักจิตวิทยาชาวรัสเซียผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากทฤษฎีทางสังคมวัฒนธรรมของเขา เขาเชื่อว่าปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง การเลียนแบบ การเรียนรู้แบบมีคำแนะนำ และการเรียนรู้แบบร่วมมือมีความโดดเด่นในทฤษฎีของเขา

     ชีวิตในวัยเด็กของ Lev Vygotsky   

             Lev Vygotsky เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 ในเมือง Orsha เมืองแห่งหนึ่งในจักรวรรดิรัสเซียตะวันตก ในปี ค.ศ. 1917 เขาได้รับปริญญาทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมอสโก ซึ่งเขาได้ศึกษาหัวข้อต่างๆ มากมาย เช่น สังคมวิทยา ภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และปรัชญา งานด้านจิตวิทยาอย่างเป็นทางการของเขาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2467 ที่สถาบันจิตวิทยาแห่งมอสโก เขาจบวิทยานิพนธ์ในปี พ.ศ. 2468 ในด้านจิตวิทยาศิลปะ Lev Vygotsky เป็นนักจิตวิทยาการพัฒนาที่ฉลาดหลักแหลมที่รู้จักกันในการพัฒนาทฤษฎีสำคัญหลายประการเขาเห็นว่าเด็ก ๆ ต้องการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้คนในกลุ่มอายุที่แตกต่างกันเพื่อพัฒนาการด้านจิตวิทยาของพวกเขา เขาเน้นว่าการโต้ตอบระหว่างเด็กกับผู้ปกครองและครูมีความสำคัญเนื่องจากเด็กเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่องจากสิ่งที่พวกเขาโต้ตอบด้วย อย่างไรก็ตามทฤษฎีของเขาได้พบกับความสงสัยมากในช่วงต้นศตวรรษที่ 20   แต่เขาได้รับปริญญาจากการขาดเรียนเนื่องจากวัณโรคเฉียบพลันที่กำเริบซึ่งทำให้เขาไร้ความสามารถเป็นเวลาหนึ่งปี  หลังจากเจ็บป่วย Vygotsky เริ่มค้นคว้าหัวข้อต่างๆ เช่น ภาษา ความสนใจ และความทรงจำด้วยความช่วยเหลือจากนักเรียนของเขา ในบรรดาคนเหล่านี้ ได้แก่ Alexei Leontiev นักจิตวิทยาพัฒนาการและนักปรัชญาที่พัฒนาทฤษฎีกิจกรรม และนักประสาทวิทยา Alexander Luria ผู้เขียน "Higher Cortical Functions in Man " แต่ความคิดของ Vygotsky ไม่เคยเป็นที่รู้จักกันดีจนกระทั่งนานหลังจากที่เขาเสียชีวิต ในขณะที่ความคิดของพวกเขามีความคล้ายคลึงกันบางอย่างมีความแตกต่างบาง ชีวิตของ Vygotsky ถูกตัดสั้นลงอย่างน่าเศร้าเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 1934 เมื่อเขาเสียชีวิตด้วยวัณโรคเมื่ออายุ 37 ปี หลังจากที่เขาเสียชีวิตทฤษฎีส่วนใหญ่ของเขาจึงไม่ได้รับการพัฒนา จนกลายเป็นรากฐานของการวิจัยและทฤษฎีมากมายในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ  พ.ศ. 2439-2477



ทฤษฎีการเรียนรู้ของไวก๊อทสกี้

การมอบความช่วยเหลือให้เด็กๆในระดับที่เหมาะสมและในช่วงเวลาที่เหมาะเจาะนั้นเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในฐานะผู้ปกครองคุณพ่อคุณแม่ควรรู้แนวทางในการสนับสนุนพัฒนาการของลูกน้อยว่าจะทำอย่างไรและทำเมื่อไหร่ดี   


ทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคมของไวกอตสกี้

ทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคมของไวกอตสกี้ระบุว่าชุมชนและภาษานั้นเป็นจุดศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ในขณะที่ ฌอง เพียเจต์สรุปว่าการพัฒนาด้านสติปัญญาของเด็กนั้นเกิดขึ้นเป็นลำดับขั้นตอนไวกอตสกี้ไม่ยอมรับทฤษฎีนี้และเชื่อว่าเด็กแต่ละคนพัฒนาตามลำดับขั้นตอนของตัวเองผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมไวกอตสกี้ประกาศว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับพื้นฐานทางความคิด 4 ประการ  ซึ่งก็คือ ความสนใจ ความรู้สึก การรับรู้และความทรงจำสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เราสามารถนำพื้นฐานทั้ง 4รูปแบบมาใช้เพื่อที่จะพัฒนาไปสู่ความคิดขั้นที่สูงขึ้น
ไวก็อตสกี้ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมากเขาอธิบายว่ามนุษย์ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิดซึ่งนอกจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแล้ว สถาบันสังคมต่างๆเริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัว นอกจากนั้น ภาษายังเป็นเครื่องมือสำคัญของการคิดและพัฒนาปัญญาขั้นสูงพัฒนาการทางภาษาและทางความคิดของเด็กเริ่มด้วยการพัฒนาที่แยกจากกันแต่เมื่ออายุมากขึ้นพัฒนาทั้งสองด้านจะไปร่วมกัน

ไวก็อตสกี้แบ่งระดับเชาว์ปัญญาออกเป็น 2 ขั้น คือ


1. เชาว์ปัญญาขั้นเบื้องต้น คือเชาว์ปัญญามูลฐานตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้
2.เชาว์ปัญญาขั้นสูง คือเชาว์ปัญญาที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ให้การอบรมเลี้ยงดู ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้โดยใช้ภาษา วีก็อตสกี้ ได้แบ่งพัฒนาการทางภาษาเป็น 3 ขั้น  คือ
2.1 ภาษาที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียกว่า ภาษาสังคม (social speech) เป็นภาษาที่เด็กใช้ ในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น  ในช่วงอายุ  0 - 3 ปี เพื่อสื่อสารความคิดความรู้สึกต่างๆที่ตนนั้นกำลังนึกคิดและต้องการที่จะแสดง ความต้องการอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองกับผู้อื่น
2.2 ภาษาที่พูดกับตนเอง 3 – 7 ขวบ (egocentric  speech)  เป็นภาษาที่เด็กใช้พูดกับตนเองในช่วงอายุ  3 -7 ปี โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น เพื่อช่วยในการคิด ตัดสินใจแสดงพฤติกรรม
2.3ภาษาที่พูดในใจเฉพาะตน 7 ขวบขึ้นไป (inner  speech) วีก๊อทสกี้อธิบายว่ามนุษย์ต้องใช้ภาษาในการคิด เด็กจะต้องพัฒนาภาษาในใจ ซึ่งเป็นการช่วยให้พัฒนาการทางสติปัญญาพัฒนาสูงขึ้นตามระดับอายุ การพัฒนาภาษาภายในตนเองเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 7 ปีเมื่อเด็กพบปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้น เขาเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาไปตามขั้นตอนโดยใช้ภาษาภายในตนเอง
 

พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ หรือ (Zone of Proximal Development)

การพัฒนานี้มักจะเกิดขึ้นใน“พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ” หรือ (Zone of Proximal Development) โดยความสามารถลำดับแรกของมนุษย์ คือสิ่งที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเองลำดับที่สองจึงเป็น “พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ”ซึ่งรวมสิ่งที่เราสามารถทำได้ด้วยความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ เพื่อน เทคโนโลยีหรือสิ่งที่ไวกอตสกี้เรียกว่า ‘ผู้ที่รู้มากกว่า’ นั่นเองลำดับสุดท้ายก็คือสิ่งที่เรายังไม่มีความสามารถหรือพัฒนาการที่ทำได้ในตอนนี้



พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ คือ บริเวณที่เด็กกำลังจะเข้าใจในบางสิ่งบางอย่าง จากการเป็นครูและนักวิจัยของเขาเขาตระหนักอยู่เสมอว่าเด็กมีความสามารถที่จะแก้ปัญหาที่เกินกว่าระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเขาที่จะทำได้หากเขาได้รับคำแนะนำ ถูกกระตุ้น หรือชักจูงโดยใครบางคนที่มีสติปัญญาที่ดีกว่าบุคคลเหล่านี้อาจเป็นเพื่อนที่มีความสามารถ นักเรียนคนอื่นๆ พ่อแม่ ครู หรือใครก็ได้ที่มีความเชี่ยวชาญ
ไวก็อตสกี้ได้ให้คำนิยามพื้นที่รอยต่อพัฒนาการนี้ว่า “ระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการที่แท้จริงซึ่งกำหนดโดยลักษณะการแก้ปัญหาของแต่ละบุคคลกับระดับของศักยภาพแห่งพัฒนาการที่กำหนดโดยผ่านการแก้ปัญหาภายใต้คำแนะนำของผู้ใหญ่ หรือในการร่วมมือช่วยเหลือกับเพื่อนที่มีความสามารถเหนือกว่า“และได้กล่าวสนับสนุนอีกว่า“พื้นที่รอยต่อพัฒนาการในวันนี้จะเป็นระดับของพัฒนาการในวันพรุ่งนี้อะไรก็ตามที่เด็กสามารถทำได้โดยอยู่ภายใต้ความช่วยเหลือในวันนี้วันพรุ่งนี้เขาจะสามารถทำได้ด้วยตัวของเขาเอง เพียงได้รับการเรียนรู้ที่ดีก็จะนำมาซึ่งพัฒนาการที่เจริญขึ้น”



เช่น ถ้าจะให้นึกภาพ ลองมานึกถึงฝาแฝดชายหญิงสองคนที่ถูกเลี้ยงดูในสังคมที่คาดหวังว่าผู้ชายมีหน้าที่เรียนเพื่อที่จะได้ประสบความสำเร็จส่วนผู้หญิงก็ถูกคาดหวังให้ทำตัวสวยงามเพียงเท่านั้น เมื่อตอนฝาแฝดคู่นี้อายุ 10 เดือน ทั้งสองถือว่าอยู่ในช่วงวัย “พื้นที่รอยต่อพัฒนาการ”ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ในการหัดยืนด้วยตัวเอง ผู้ที่รู้มากกว่า’ ในที่นี้ก็คือคุณพ่อ ที่จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์สำหรับการฝึกซ้อมให้เด็กผู้ชาย เด็กชายได้รับการสนับสนุนให้สำรวจอุปกรณ์การช่วยเหลืออย่างเต็มที่และในที่สุดก็สามารถคว้าและยืนด้วยตัวเองได้แล้วในไม่กี่ชั่วโมงต่อมาเด็กชายก็สามารถเดินเกาะไปตามทางได้และสามารถยืนได้ด้วยตัวเองในเวลาเพียงไม่กี่วัน ในขณะที่แฝดผู้หญิงถึงแม้จะมีศักยภาพที่จะยืนได้เช่นกัน แต่กลับไม่ได้รับความช่วยเหลือ




เมื่อมาเทียบเด็กทั้งสองจะเห็นได้ว่าในระหว่างที่เด็กผู้หญิงกำลังพยายามที่จะยืนขึ้น เด็กผู้ชายนั้นได้ก้าวไปขั้นต่อไปแล้ว เขาเรียนรู้ที่จะทรงตัวบนขาและกำลังเริ่มที่จะฝึกเดิน ท้ายที่สุดแล้วทั้งสองจะได้เรียนรู้วิธีการเดินเหมือนกัน แต่ไวกอตสกี้เชื่อว่าเด็กผู้ชายจะมีทักษะมากกว่า 

หลักการเดียวกันนี้สามารถนำมาใช้กับการเรียนรู้และการพัฒนาความรู้ความเข้าใจที่สูงขึ้นได้และการที่จะเข้าถึงศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่นั้นต้องเป็นการได้เรียนรู้ฝึกฝนจากผู้ฝึกสอนที่เชี่ยวชาญ เพราะเหตุนี้ไวกอตสกี้จึงเชื่อว่าในพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ การเรียนรู้สามารถนำหน้าพัฒนาการได้ หมายความว่าเด็กๆ สามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ที่อยู่เหนือกว่าวุฒิภาวะตามธรรมชาติของตนเองได้ 



การเรียนรู้นำไปสู่พัฒนาการ สนับสนุนพัฒนาการ หรือผลักดันให้พัฒนาการเป็นไปในระดับที่สูงขึ้นเป็นการขยายระดับพัฒนาการออกไปอย่างไม่มีขีดจำกัด โดยเกิดจากการเรียนรู้มโนทัศน์ 2ประเภท คือ มโนทัศน์โดยธรรมชาติ (Spontaneous or Everyday Concepts) และ มโนทัศน์ที่เป็นระบบ (Scientific or Schooled Concepts)

มโนทัศน์โดยธรรมชาติ (Spontaneous or Everyday Concepts) เกิดจากการสังเกตหรือจากการรับความรู้สึกทางประสาทสัมผัสอันเป็นประสบการณ์ที่เราสร้างขึ้นมาด้วยตนเองจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปและได้ถูกนำมาใช้ในลักษณะที่เราแทบไม่รู้ตัว

มโนทัศน์ทั้ง 2 ประเภทนี้ทำงานประสานกันมโนทัศน์ในชีวิตประจำวันมีความจำเป็นสำหรับเด็กที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้เพื่อให้ได้มาซึ่งมโนทัศน์ที่เป็นระบบ  การพัฒนาจากความรู้ความเข้าใจจากมโนทัศน์โดยธรรมชาติไปสู่มโนทัศน์ที่เป็นระบบจะต้องอาศัยสื่อกลางดังนี้

1.ภาษา (Language)
2.ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม(Social Interaction)

3. วัฒนธรรม (Culture)
4. การเลียนแบบ (Imitation)
5. การชี้แนะหรือการช่วยเหลือ (Guidance or Assistance)


วิดีโอ ทฤษฏีของไวก็อตสกี้



สรุป

 ไวก็อตสกี้เน้นความสำคัญของสังคมและวัฒนธรรมต่อการเรียนรู้แลพัฒนาการทางเชาว์ปัญญามากและถือว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างเด็กและผู้ใหญ่พ่อแม่หรือครูและเพื่อนในขณะที่เด็กอยู่ในสภาพสังคม





จัดทำโดย


นางสาวซูไรดา ฮะซัล รหัสนักศึกษา 406513027

นางสาวนาตาชา บิลังโหลด รหัสนักศึกษา 406513032

นางสาวไซนับ จอแต๊ะ รหัสนักศึกษา 406513033


สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไ


เสนอ


ดร.กอเดช อ้าสะกะละ


รหัสวิชา 1105101 ชื่อวิชา จิตวิทยาสำหรับครู




ความคิดเห็น